วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษาที่ใช้กันในอันดับ 3-6 คือ

3. ภาษาฮินดี (Hindustani) 496,000,000 

ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี 

ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devan?gar?) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรับ 

4. ภาษาสเปน (Spanish) 425,000,000 

ภาษาสเปน (สเปน: Español, Castellano อังกฤษ : Spanish, Castilian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ ที่มีคนพูดมากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก โดยที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกประมาณ 352 ล้านคน และมากถึง 417 ล้านคน เมื่อรวมคนที่ไม่ได้พูดเป็นภาษาแรกด้วย (จากการประมาณเมื่อปี พ.ศ. 2542) ประชากรส่วนใหญ่ที่พูดภาษาสเปน จะอาศัยอยู่แถบละตินอเมริกา 

5. ภาษารัสเซีย (Russian) 275,000,000 

ภาษารัสเซีย (??????? ???? รุสสกี ยิซึก ในภาษารัสเซีย) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด 

ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์เมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 

6. ภาษาอาหรับ (Arabic) 256,000,000 

ภาษาอาหรับ (??????? al-'arabiyyah) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอาราเมอิก ใช้พูดทั่วโลกอาหรับ และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางนอกโลกอาหรับ. เป็นภาษาทางวรรณกรรมเป็นเวลากว่า 1,500 ปี และเป็นภาษาที่ใช้ในการละหมาดและขอพรในศาสนาอิสลาม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น